วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กล้วยไม้สกุลต่างๆ

 กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยมีดังนี้
1) กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบฐานร่วม (sympodial growth)
ชื่อไทย
ชื่อทางพฤกษศาสตร์
ชื่อย่อ
คำอ่านอักษรไทย
1. รองเท้านารีPaphiopedilumPaph.พาฟิโอเพดิลัม
2. หวายDendrobiumDen.ด็นโดรเบียม
3. ซิมบิเดียมCymbidiumCym.เซิมบิเดียม
4. ออนซิเดียมOncidiumOnc.ออนซิเดียม
5. คัทลียาCattleyaC. คัทลียา


2) กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว (Monopodial growth)
ชื่อไทย
ชื่อทางพฤกษศาสตร์
ชื่อย่อ
คำอ่านอักษรไทย
6. กุหลาบAeridesAer.แอริดิส
7. ช้างRhynchostylisRhy.ริงโคสไตลิส
8. แมลงปอArachnisArach.อแรคนิส
9. รีแนนเธอราRenantheraRen.รีแนนเธอรา
10. ฟาแลนอปซิสPhalaenopsisPhal.ฟาแลนอปซิส
11. ม้าวิ่งDoritisDor.โดไรติส
12. เข็มAscocentrumAsctm.แอสโคเซ็นตรัม
13. แวนดาVandaV.แวนดา
14. แวนดอปซิส VandopsisVaps.แวนดอปซิส
      ในแต่ละสกุลที่กล่าวมานี้แบ่งย่อยออกเป็นชนิด เช่น สกุลเข็ม ที่พบในประเทศไทยและมีความสวยงาม มี 3 ชนิด
คือเข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) และเข็มแสด
(Ascocentrum miniatum)

      โปรดสังเกตการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์กล้วยไม้ ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับการเขียนชื่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ นำหน้า
ด้วยชื่อสกุล และตามด้วยชื่อชนิด ชื่อสกุลเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่
      ชื่อชนิดเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก เพื่อให้ง่ายแก่การสังเกต ถ้าพิมพ์กำหนดให้ใช้ตัวเอน ถ้าเขียนให้ขีด
เส้นใต้ ที่กล่าวนี้เป็นกฏเกณฑ์สำหรับกล้วยไม้ชนิดแท้เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วท้ายชื่อชนิดจะมีชื่อนักวิทยาศาสตร์
ผู้ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ กำกับไว้ด้วย เช่น Aerides krabinse Seidenf.คำแรกเป็นชื่อสกุลอ่านว่า แอริดิส
คำถัดมาเป็นขื่อชนิดอ่านว่า กระบี่เอนเซ คำสุดท้ายเป็นชื่อย่อของ ฯพณฯ ไซเดนฟาเดน ผู้ตั้งชื่อกระบี่เอนเซ
ชื่อเต็มของท่านคือ Gunnar Seidenfaden อดีตเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย           ซึ่งเป็น
นักพฤกษศาสตร์ที่มีความสามารถเป็นเยี่ยม

      การมีชื่อผู้ตั้งชื่อกล้วยไม้นั้น ๆ กำกับไว้ด้วย ก็เพื่อป้องกันการสับสนเพราะมีกล้วยไม้บางชนิดมีคนตั้งชื่อไว้หลาย
ชื่อ แล้วนักพฤกษศาสตร์ก็ยังหาข้อยุติไม้ได้ว่าจะเลือกใช้ชื่อใด เมื่อมีชื่อผู้ตั้งเขียนกำกับไว้ด้วย ก็จะลดความสับสนลง
ไปได้มาก ชื่อคนตั้งท้ายชื่อกล้วยไม้นี้เมื่อเขียนไม้ต้องขีดเน้นใต้ เมื่อพิมพ์ให้ใช้ตัวตรงธรรมดาไม่ต้องใช้ตัวเอน

     สำหรับ ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่ว ๆ ไป เมื่อเขียนชื่อกล้วยไม้จะไม่เขียนชื่อผู้ตั้งเอาไว้ก็ได้ แต่ถ้าเป็นการเขียนเอกสาร
ทางวิชาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ โดยตรง ขอแนะนำให้เขียนกำกับไว้ด้วยจะดูน่าเชื่อถือกว่า และไม่สับสน

    สำหรับกล้วยไม้ลูกผสม ไม่มีชื่อชนิด (specific name) แต่จะมีชื่อลูกผสม (grex name)มาแทนและให้เขียนขึ้นต้นด้วย
ตัวใหญ่เช่นเดียวกับชื่อสกุลและไม่ต้องขีดเส้นใต้ หรือพิมพ์ด้วยตัวเอน เช่นตัวอย่างในกรอบข้างล่าง
Vanda Rothschildiana
ลูกผสมระหว่าง
Vanda sanderana x Vandacoerulea
 
Vanda Rose Davis
ลูกผสมระหว่าง
Vanda Rothschidiana x Vandacoerulea
 
Ascocentrum Sagarik Gold
- เข็มสาคริก
ลูกผสมระหว่าง
Ascocentrum miniatum - เข็มแสด x Ascocentrum curvifolium - เข็มแดง
     
      

สาระน่ารู้

 

 ฉันเป็นคนที่ชอบดอกกล้วยไม้มากเพราะเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่สวยงามมาก มีสีที่สดใสกว่าดอกไม้ชนิดอื่น มันมีหลายสายพันธุ์ให้ได้ชมกันสำหรับผู้ที่รักดอกกล้วยไม้
กล้วยไม้ (Orchid) เป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่มีดอกสวยงาม มีความหลากหลายทั้งสีสันลวดลาย ขนาด รูปทรง และกลิ่น เรียกได้ว่าเป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง มีมากกว่า 800 สกุล พบในธรรมชาติมากกว่าสองหมื่นชนิด ด้วยความสวยงามและความหลากหลายทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก มีการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการผสมข้ามชนิดข้ามสกุลมากกว่าสามหมื่นคู่ผสม ทำให้กล้วยไม้มีความสวยงามและหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ฉันอยากเชิญชวนทุกคนที่ไม่เคยแม้แต่หันดอกกล้วยไม้ต่อจากนี้ไปขอให้ลองหันมมามองมันดูแล้วจะรู้ว่ามันสวยจริง ๆ และยังทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย















วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การผสมพันธุ์ในดอกกล้วยไม้


ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้สมบูรณ์เพศ   มีอวัยวะเพศตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน   และอยู่บนชิ้นส่วนที่เป็นหลักชิ้น เดียวกันด้วย   ตรงศูนย์กลางด้านหน้าของดอกจะมีชิ้นส่วนนี้ยื่นออกมา  ซึ่งเราเรียกว่า   "เส้าเกสร" (column)  ตรงปลายเส้าเกสรนี้มีลักษณะเป็นโพรงและมีฝาครอบ    หากเปิดฝาครอบออกก็จะได้พบเกสรตัวผู้ (pollinia) อยู่ภายในเม็ดเกสรตัวผู้มีจำนวนเป็นคู่ แล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้    แต่ละเม็ดประกอบขึ้นจากเกสรตัวผู้จำนวนมากมายประสานเป็นเนื้อเดียวกัน    เม็ดเกสรตัวผู้ของกล้วยไม้บางชนิด     มีก้านซึ่งมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่นได้บริเวณด้านใต้ของปลายเส้าเกสรนั้นมีลักษณะเป็นแอ่งและมีน้ำซึ่งข้นคล้ายแป้งเปียกอยู่ในแอ่งนี้ เราเรียกว่า "ปลายเกสรตัวเมีย"(stigma) ระหว่างโพรงที่อยู่ของเกสรตัวผู้กับปลายเกสรตัวเมียที่มีเยื่อบางๆกั้นไว้โคนของเส้าเกสรซึ่งเป็นศูนย์รวมของกลีบทุกกลีบของดอกกล้วยไม้นั้นเชื่อมโยงเป็นชิ้นเดียวกันกับก้านดอก (pedicel)ซึ่งอยู่ด้านหลังและส่วนของก้านดอกที่อยู่ถัดจากกลีบดอกออกไปทางด้านหลังนี้เองคือ รังไข่ของตัวเมีย  (ovary)  ภายในเป็น โพรงและมีไข่อยู่เป็นจำนวนมาก   ถ้าหากปลายเกสรตัวเมียได้ รับการผสมโดยเม็ดเกสรตัวผู้    และถ้าการผสมเริ่มบังเกิดผล กลีบดอกจะเริ่มเหี่ยว   และก้านดอกส่วนที่อยู่ใกล้กลีบดอก และมีลักษณะเป็นร่องยาวของก้านดอก ซึ่งก็คือส่วนที่เป็นรังไข่ของ ตัวเมีย  ก็จะขยายตัวเจริญขึ้นเป็นฝักของกล้วยไม้   ถ้าการผสมระหว่างเชื้อตัวผู้และไข่ของตัวเมียภายในรังไข่สมบูรณ์เป็นปกติภายในฝักก็จะมีเมล็ดกล้วยไม้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมายหลายแสนเมล็ด  เมื่อเมล็ดแก่จัด  จะหลุดจากผนังของฝักรวมๆ กันอยู่มีลักษณะเป็นผงละเอียดมาก   หากผนังฝักมีรอยร้าวหรือแตกเมื่อใด   เมล็ดเหล่านี้ก็จะปลิวไปตามกระแสลมได้ฝักกล้วยไม้นับตั้งแต่ผสมเกสรจนถึงฝักสุก  ใช้ระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ    เดือนไปจนถึงประมาณ  ๒ ปี   สุดแล้วแต่ ชนิดของกล้วยไม้  อาทิเช่น   กล้วยไม้ในสกุลสแพโทกลอตทิส ซึ่งพบขึ้นอยู่ตามโขดหินในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย   และในเขตดินแดนมาเลเซียนั้น  มีอายุฝักประมาณ   ๓๐  วัน กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda   coerulaea)   ซึ่งพบ อยู่ตามธรรมชาติในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย  และประเทศใกล้เคียง   มีอายุฝักตั้งแต่เริ่มผสมเกสรจนถึงฝักสุก ประมาณ  ๑๕-๑๘ เดือน   กล้วยไม้สกุลหวายเดนโดรเบียมและสกุลคัทลียา   รวมทั้งแวนดาลูกผสมต่างๆ ที่นิยมผสมและเลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทยนั้น   มีอายุฝักตั้งแต่ผสมจนถึงฝักสุกผิดเพี้ยนกันไประหว่าง ๓-๘  เดือน โดยทั่วๆ ไปแล้วในกล้วยไม้สกุลเดียวกัน  ฝักของกล้วยไม้ลูกผสมจะมีอายุสั้นกว่ากล้วยไม้ป่าหรือกล้วยไม้พันธุ์แท้      ความผิดเพี้ยนของสภาพแวดล้อมที่กล้วยไม้ขึ้นอยู่    ก็มีส่วนทำให้อายุของฝักกล้วยไม้แปรเปลี่ยนไปได้พอสมควรเช่นกัน
แม้ว่ากล้วยไม้จะเป็นพันธุ์ไม้ประเภทเดียวกันกับพืชจำพวกข้าวและหญ้าก็ตาม  แต่เมล็ดกล้วยไม้ก็มีองค์ประกอบหลักที่ไม่เหมือนกับพืชเหล่านั้น    เมล็ดพืชทั่วๆไปจะมีองค์-ประกอบหลักอยู่ ๓ ส่วนด้วยกันคือ   เปลือกเมล็ด   เชื้อที่จะงอกและเจริญขึ้นมาเป็นต้นอ่อน  และอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อ ในขณะที่กำลังงอกและยังเลี้ยงตัวเองไม่ได้  แต่เมล็ดกล้วยไม้มีเพียง    ส่วนเท่านั้นคือ  เปลือกเมล็ดกับเชื้อที่จะงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อน     ดังนั้น  เมล็ดกล้วยไม้จึงไม่สามารถจะงอกได้ด้วยตัวเอง  แม้ว่าจะมีสภาพแวดล้อมต่างๆเหมาะสมก็ตามจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อราจำพวกหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกรวมๆว่า "ไมคอไรซา" (Mycorhiza) ช่วยให้อาหารแก่เชื้อ   และเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญเลี้ยงตัวเองได้แล้ว   เชื้อราประเภทนี้จะอาศัยดำรงชีวิตอยู่ภายในผิวของรากกล้วยไม้ต่อไป   ดังนั้นเราจึงพบว่า    เมล็ดกล้วยไม้ที่งอกในป่าตามธรรมชาติจะกระ-จายอยู่ไม่ไกลจากต้นเดิมมากนัก   บางครั้งก็พบงอกอยู่ใกล้ๆผิวของรากกล้วยไม้ใหญ่    เชื้อราประเภทนี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกันบางชนิดก็มีความเหมาะสมกับกล้วยไม้บางกลุ่มบางพวกเท่านั้นดังนั้น  ในการเล่นกล้วยไม้สมัยก่อนๆ ขณะที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ เจริญมากนัก  ผู้สนใจกล้วยไม้ในสมัยนั้นได้ใช้วิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้โดยเลียนแบบธรรมชาติ  คือ นำเมล็ดกล้วยไม้ที่แก่แล้วซึ่งมีลักษณะเป็นผงละเอียดไปหว่านลงบริเวณใกล้โคนต้นแม่พันธุ์      และเนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้ที่ได้จากฝักหนึ่งๆ มีเป็น จำนวนแสนเมล็ด      แม้จะได้รับอันตรายไปมากพอสมควร ก็ยังมีบางส่วนที่งอกเป็นต้นขึ้นมาได้      ชีวิตที่พึ่งพาอาศัย ธรรมชาติซึ่งกันและกันในธรรมชาติ  เช่น  กล้วยไม้กับเชื้อรานี้ ภาษาวิชาการเรียกว่า "ซิมไบโอซิส" (symbiosis)เมื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ได้เจริญขึ้น    มนุษย์จึงได้เรียนรู้วิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้โดยมิต้องอาศัยเชื้อราอีกต่อไปได้มีนักพฤษศาสตร์ชาวยุโรปและอเมริกันประกาศความสำเร็จในการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในขวดแก้ว   โดยใช้วุ้นเป็นพื้นและผสมธาตุอาหารต่างๆ ที่เมล็ดกล้วยไม้ต้องการ  เพื่อการงอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง  พร้อมทั้งปรับสภาวะความเป็นกรดของวุ้นอาหารให้เหมาะสมกับการที่เมล็ดและต้นอ่อนของกล้วยไม้นั้นจสามารถใช้อาหารให้เกิดประโยชน์มากที่สุดการเตรียมวุ้นอาหารจำเป็นต้องอยู่ในสภาวะปลอดจากเชื้ออื่นๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าซึ่งปะปนอยู่ในบรรยากาศ   และสิ่งต่างๆทั่วๆไป   มิฉะนั้นแล้วเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะเจริญงอกงามอย่างรวดเร็วในวุ้นอาหารของกล้วยไม้ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการงอกของเมล็ดอย่างร้ายแรง

ดอกไม้ประจำวันเกิด

ดอกไม้ประจำวันเกิด

ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าแต่ละคนควรจะปลูกต้นไม้ประจำวันเกิด เพื่อว่าชีวิตจะมีความสุข


ดอกไม้ประจำวันอาทิตย์
ต้นไม้ประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์ คือ ต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิดเป็นดอก กุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับคนที่เกิดวันอาทิตย์ผู้มีนิสัย ทะเยอทะยานและกระตือรือล้น คุณและดอกไม้มีความหมายถึง ความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทาน ตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวคุณที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัวและหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย


ดอกไม้ประจำวันจันทร์
ต้นไม้ประจำวันเกิดของคนเกิดวันจันทร์ คือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี ยิ่งถ้าปลูกแล้วออกดอกหอม คุณจะยิ่งโชคดี ดอกไม้ประจำวันเกิดคือดอกมะลิขาวสะอาดหมายถึง ตัวคุณที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชิดคือดอกกุหลาบขาวหมายถึง ความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติก และช่างฝัน


ดอกไม้ประจำวันอังคาร
ต้นไม้ที่แสนดีของคนเกิดวันอังคาร คือ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นยี่โ ถ ดอกสีชมพู ต้นเข็มออกดอกสีชมพู ถ้าต้นไม้ของคุณออกดอกมากๆ บอกได้เลยว่าคุณกำลังมีความสุข ดอกไม้ประจำวันเกิดของคุณ คือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมาย ถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้


ดอกไม้ประจำวันพุธ
ต้นไม้ประจำตัวคนที่เกิดวันพุธนั้นพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่เป็นต้นไม้ใบเขียว โดยเฉพาะต้นกระดังงา ต้นสนฉัตร ดังนั้นคุณควรปลูกต้นไม้เยอะๆ ถึงจะโชคดี ต้นไม้เหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองคุณได้ คือ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบเพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบ เป็นนักการทูตและรักสันติภาพดอกไม้ประจำวันเกิดคือ คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ(เงิน)สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชิดนี้หมายถึง รักของคุณต้องมาพร้อมเงิน


ดอกไม้ประจำวันพฤหัสบดี
คนที่เกิดวันนี้ มีต้นไม้ประจำตัวคือ ต้นโสน ต้นราชพฤกษ์ และต้น บานบุรี หากมีต้นไม้เหล่านี้อยู่ในบ้านจะช่วยคุ้มครองดูแลคุณดอกไม้ประจำวันเกิดของคุณ คือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็กๆดอกไม้อีกชนิดหนึ่ง คือ ดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึง รักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวานคุณที่เกิดวันนี้จริงๆแล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารัก เหมือนดอกไม้ของคุณนั่นแหละ
ดอกไม้ประจำวันศุกร์
ต้นไม้ที่แสนดีของคนที่เกิดวันศุกร์ คือ ต้นพยับหมอก ต้นแส ต้นอัญชัน ส่วนดอกไม้ที่ถูกแลกโชคดีของคุณคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิด วันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่มีเสน่ห์ล้นเหลือหรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบดอกไวโอแลตว่า "ฉันรักเธอแล้วหากรักฉันก็บอกกันบ้างนะ"คนเกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอนไปครองอีกดอกหนึ่ง

ดอกไม้ประจำวันเสาร์
คนเกิดวันเสาร์จะมีต้นไม้พวก ตันกัลปังหา ต้นพวงคราม ต้นอินทนิล เป็นต้นไม้ ประจำวันเกิด และดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึง รักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว

การดูแลรักษากล้วยไม้

การให้น้ำ
          น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น
           น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้
           - น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
           - น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
           วิธีการการให้น้ำ
           วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้
           - จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น
           - ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก
           - ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้
           - สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
           - สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด
           
เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ
           การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้ 

การให้ปุ๋ย
          ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก
          นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ

          ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้
          โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า
          - ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้
          - ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ
          - ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา
         
วิธีการให้ปุ๋ย           ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ
          วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
          - รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น
          - พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป
          - วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้
          - ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี
          - ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย
         
เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย
          เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้

การเก็บเกี่ยว
          เพื่อให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี ผู้ปลูกต้องกำหนดวันตัดดอกให้แน่นอน แล้วจัดตารางใส่ปุ๋ย -ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม หากให้ปุ๋ยก่อนตัดดอก 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพดอกและอายุการปักแจกันลดลง ช่วงเวลาตัดดอกควรตัดในช่วงเข้ามืดโดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อหรือตัดด้วยกรรไกร โดยต้องทำ ความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส ลักษณะของช่อดอกที่สามารถตัดได้ในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกต้องบาน 3/4 ของช่อดอก, ออนซิเดียมตัดในระยะเหลือดอกตูมที่ปลายช่อ 1-2 ดอก แวนด้า และแอสโคเซนด้า ตัดดอกเมื่อดอกบานหมดช่อ ส่วนอะแรนด้า, ม๊อคคาร่า ตัดดอกเมื่อดอกบานเกือบหมดช่อหรือหมดช่อ

ดอกกล้วยไม้พันธ์รองเท้านารี(Lady’s Slipper)




           กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์





กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง

รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤกษาศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้






โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่


รองเท้านารีอินทนนท์ Paphiopedilum villosum


เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ.2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว



รองเท้านารีเหลืองปราจีน Paphiopedilum concolor


ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่


รองเท้านารีเมืองกาญจน์ Paphiopedilum parishii


ค้นพบเมื่อ พ.ศ.2402 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีและกำแพงเพชร เป็นกล้วยไม้อากาศเกาะอยู่ตามต้นไม้มีลักษณะเด่น คือ มีกลีบในคู่บิดเป็นเกลียวเป็นสายยาวกว่ากลีบนอกประมาณสามเท่าตัว


รองเท้านารีเหลืองตรัง Paphiopedilum godefroyae


ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัดชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย


รองเท้านารีอ่างทอง Paphiopedilum angthong


ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา


รองเท้านารีสุขะกุล Paphiopedilum sukhakulii


ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก


รองเท้านารีเหลืองกระบี่ Paphiopedilum exul


ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรงปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุดสีม่วง กลีบในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลืองเป็นมัน


รองเท้านารีเหลืองพังงา Paphiopedilum leucochilum ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล รองเท้านารีคางกบ Paphiopedilum callosum ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2428 ถิ่นกำเนิดอยู่ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และบริเวณอ่าวไทยตามเกาะต่างๆ ลักษณะเด่น คือ คล้ายรองเท้านารีฝาหอย แต่แตกต่างตรงที่ปลายกลีบนอกบนของรองเท้านารีคางกบเรียวยาวแหลมกว่า ริมกลีบในเป็นคลื่นหรือพับม้วน กระเปาะมีเม็ดสีดำติดอยู่ รองเท้านารีฝาหอย Paphiopedilum bellatulum ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2431 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหุบเขาในเขตพม่าต่อชายแดนไทยตอนเหนือแถบจังหวัดลำพูน และเขตอำเภอเชียงดาว ภาคใต้ เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะช้างในจังหวัดพังงา เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ใบใหญ่ปลายมน ใบลายสีเขียวแก่และเขียวอ่อนใต้ท้องใบสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นมีขน กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบดอกสีขาวนวล ประจุดสีม่วงจากโคนกลีบ กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่เรียกว่า “Plover Orchid”) รองเท้านารีขาวสตูล Paphiopedilum niveum ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2411 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามเกาะแถบภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ ใบมีลายสีเขียวคล้ำ ปลายมนพอสมควร ใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกแข็งยาวเรียวมีทั้งสีม่วงและเขียวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กปลายกลีบบานคุ้มมาข้างหน้า ดอกสีขาวเป็นมัน กลีบในประจุดสีม่วง กระเปาะรูปกลมเหมือนไข่สีเดียวกับกลีบคือ ขาว รองเท้านารีเหลืองเลย Paphiopedilum esquirolei ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2455 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบภูเขาในภาคอีสาน เช่น เลย เพชรบูรณ์ เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ใบยาว กลีบดอกด้านบนสีแดงเข้มออกน้ำตาล ขอบกลีบสีเหลืองอมเขียว ปลายกลีบบีบเข้า กลีบในเป็นสีขมพูแดง กระเปาะสีคล้ายกลีบดอก



รองเท้านารีเชียงดาว Paphiopedilum dianthum



ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2483 ถิ่นกำเนิดอยู่บนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีเมืองกาญจน์ แต่กระเปาะของรองเท้านารีเชียงดาวกว้างกว่า กลีบนอกบนสีเขียว มีเส้นเขียว



รองเท้านารีม่วงสงขลา Paphiopedilum barbatum



ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า






ความหมายของดอกกล้วยไม้พันธ์รองเท้านารีคือความเอาแต่ใจ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดอกกล้วยไม้


กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ สวยๆงามๆ
กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ สวยๆงามๆ
กล้วยไม้ (Orchid) เป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่มีดอกสวยงาม มีความหลากหลายทั้งสีสันลวดลาย ขนาด รูปทรง และกลิ่น เรียกได้ว่าเป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง มีมากกว่า 800 สกุล พบในธรรมชาติมากกว่าสองหมื่นชนิด ด้วยความสวยงามและความหลากหลายทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก มีการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการผสมข้ามชนิดข้ามสกุลมากกว่าสามหมื่นคู่ผสม ทำให้กล้วยไม้มีความสวยงามและหลากหลายมากยิ่งขึ้น

รูปภาพ กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ สวยๆงามๆ
ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ

ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ
ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ

ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ
ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ

ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ
ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ

ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ
ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ

ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ
ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้ไทยสวยๆ

กล้วยไม้ ดอกสีขาว
กล้วยไม้ ดอกสีขาว

กล้วยไม้ ดอกสีขาวผสมสีม่วง
กล้วยไม้ ดอกสีขาวผสมสีม่วง

กล้วยไม้
กล้วยไม้

กล้วยไม้
กล้วยไม้

กล้วยไม้
กล้วยไม้

กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย
กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย

กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย
กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย

กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย
กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย

กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย
กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย

กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย
กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ไทย